เมนู

10. ธัมมิกเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระธัมมิกเถระ


[332] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมอันบุคคล
ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรม
อันบุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม ย่อมมีวิบาก
ไม่เสนอกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำให้ถึง
สุคติ เพราะฉะนั้นแหละ บุคคลเมื่อบันเทิงอยู่ด้วยการ
ให้โอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้อย่างนี้ ควรทำความ
พอใจในธรรมทั้งหลาย เพราะพระสาวกทั้งหลายของ
พระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ ตั้งอยู่แล้วใน
ธรรม นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมนำตน
ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ใดกำจัดรากเหง้าแห่งหัวฝี ถอนข่าย
คือตัณหาได้แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้สิ้นสงสาร ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวลอีก เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญปราศจากโทษ
ฉะนั้น.
จบธัมมิกเถรคาถา

อรรถกถาธัมมิกเถรคาถาที่ 10



คาถาของท่านพระธัมมิกเถระมีคำเริ่มต้นว่า ธมฺโม หเว ดังนี้.
เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน

สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
สิขี เป็นนายพรานเนื้อ วันหนึ่ง เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เทพ-
บริษัทในราวป่า ยึดเอานิมิตแห่งเทศนาว่า ธรรมนั้นพระองค์ตรัส ดังนี้.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในโกศลรัฐ ได้นามว่า
ธัมมิกะ เจริญวัยแล้ว ได้ความเลื่อมใสในการรับพระเชตวันมหาวิหาร
บวชแล้ว เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นผู้เพ่งโทษ
ในวัตรและมิใช่วัตรของภิกษุทั้งหลายผู้อาคันตุกะ อดทนไม่ได้ ด้วยเหตุ
นั้น ภิกษุทั้งหลายพากันละทิ้งวิหารนั้นหลีกไป, ท่านได้อยู่แต่ผู้เดียว
อุบาสกผู้เป็นเจ้าของวิหาร ฟังเหตุนั้นแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า. พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสถามความนั้น เมื่อภิกษุ-
นั้นกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ไม่อดทนแต่
ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนเธอก็เป็นผู้ไม่อดทน อันภิกษุ
ทั้งหลายทูลวิงวอนแล้ว จึงแสดงรุกขธรรม1 เมื่อจะทรงประทานโอวาท
แก่เธอยิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงตรัส 4 คาถา2ว่า
ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมอันบุคคล
ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรม
อันบุคคลผู้ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปทุคติ
สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม ย่อมมีวิบากไม่เสมอ
กัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมนำไปสู่สุคติ
เพราะฉะนั้นแหละ บุคคลเมื่อบันเทิงอยู่ด้วยการให้


1. รุกขธรรมชาดก. 2. ขุ. เถร. 62/332.

โอวาทที่พระตถาคตผู้คงที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ ควรทำความ
พอใจในธรรมทั้งหลาย เพราะพระสาวกทั้งหลายของ
พระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ ตั้งอยู่แล้วในธรรม
นับถือธรรมว่าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐสุด ย่อมนำตนให้พ้น
จากทุกข์ได้ ผู้ใดกำจัดรากเหง้าแห่งหัวฝี ถอนข่ายคือ
ตัณหาได้แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้สิ้นสงสาร ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวลอีก เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ปราศจากโทษ
ฉะนั้น.

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สุจริตธรรมทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า รกฺขติ ความว่า ย่อมรักษาจากอบายทุกข์ และรักษาไว้
จากสังสารทุกข์ เป็นผู้มีพระนิพพานเป็นที่อาศัย.
บทว่า ธมฺมจารึ ได้แก่ ผู้ประพฤติคือปฏิบัติธรรมนั้น.
บทว่า สุจิณฺโณ ความว่า ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว คือ
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม การทำความยำเกรงโดยความเคารพสั่งสมไว้.
บทว่า สุขํ ได้แก่ ความสุขทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. ใน 2
อย่างนั้น อันดับแรก โลกิยะ. ได้แก่ธรรมต่างด้วยกามาพจรธรรมเป็นต้น
ย่อมนำคือให้สำเร็จเป็นความสุขตามที่เป็นของตน ในปัจจุบัน ในการ
อุบัติ หรือในปริยายอื่นอีก. ส่วนโลกุตรสุขควรจะกล่าวได้ว่า ผู้ที่ตั้ง
อยู่ในธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานประพฤติแล้ว เพราะผู้ไม่มี
ธรรมอัน เป็นอุปนิสัยก็ไม่มีพระนิพพาน. บทว่า เอสานิสํโส ธมฺเม
สุจิณฺเณ น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี
ความว่า ธรรมจารีบุคคลเมื่อ
พระพฤติธรรมดีแล้ว ย่อมไม่ไปทุคติ อันมีการประพฤติธรรมดีนั้นเป็น

เหตุ เพราะเหตุนั้น ธรรมเมื่อบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมมีอานิสงส์เป็น
กำไร.
เพราะเหตุที่การไปสู่สุคติก็เพราะธรรมนั่นแหละ และการไปสู่ทุคติ
ก็เพราะอธรรมนั่นแหละ ฉะนั้นเพื่อจะแสดงว่า สภาวะ 2 เหล่านี้คือ
ธรรมและอธรรม มีผลไม่ระคนกันและกัน จึงตรัสคาถาที่ 2 โดยนัยมี
อาทิว่า น หิ ธมฺโน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธมฺโม
ได้แก่ ทุจริตอันเป็นปฎิปักษ์ต่อธรรม. บทว่า สมวิปากิโน ได้แก่ มี
วิบากเสมอกัน คือมีผลเสมอกัน.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะธรรมและอธรรม มีวิบากต่างกัน
ตามที่กล่าวแล้วนี้.
บทว่า ฉนฺทํ ได้แก่ มีความพอใจในความเป็นผู้ใคร่จะทำ.
บทว่า อิติ โมทมาโน สุคเตน ตาทินา ประกอบความว่า
เมื่อบุคคลบันเทิง คือถึงความยินดีด้วยการให้โอวาท ที่พระตถาคตผู้เสด็จ
ไปดีแล้ว ผู้ปฏิบัติชอบแล้ว เป็นผู้คงที่ คือเป็นเหตุในการถึงความเป็นผู้
คงที่ มีประการดังกล่าวแล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ พึงทำความพอใจ
ในธรรมทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัฏฏะด้วยอันดับคำมีประมาณ
เท่านี้ บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงพระนิพพาน จึงตรัสคำมีอาทิว่า ธมฺเม
ฐิตา
ตั้งอยู่แล้วในธรรม. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า เพราะเหตุที่พระสาวก
ของพระสุคตผู้ประเสริฐ และในบรรดาพระสุคตผู้ประเสริฐ แห่งพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นนักปราชญ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมของพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ถึงสรณะอันเลิศอย่างยิ่ง ย่อมนำออก

คือย่อมออกจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น โดยภาวะเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคือ
สรณคมน์นั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นแล พึงการทำฉันทะในธรรมทั้งหลาย.
เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรมด้วย 3 คาถาเหล่านี้อย่างนี้ นั่งอยู่
อย่างไรเทียว โดยกระแสแห่งเทศนาเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วย
เหตุนั้นท่านจงกล่าวไว้ในอปทาน1ว่า
เมื่อก่อน เราเป็นพรานเนื้อเที่ยวอยู่ในไพรวันอันสงัด
เงียบ ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี อันหมู่
เทวดาห้อมล้อม กำลังทรงประกาศสัจจะ 4 ทรงแสดง
อมตบท เราได้สดับธรรมอันไพเราะของพระพุทธเจ้า ผู้
เผ่าพันธุ์ของโลกพระนามว่าสิขี เรามีจิตเลื่อมใสในพระ-
สุรเสียง เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ท่าน ผู้ไม่มี
บุคคลเปรียบเสมอเหมือนแล้ว ข้ามพ้นภพที่ข้ามได้ยาก
ในกัปที่ 31 แต่ภัตรกัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
การได้สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญา
ในเสียง เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . ฯลฯ . . . พระ-
พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ท่านดำรงอยู่แล้วในพระอรหันโดยประการนั้น. ก็แล ครั้นท่าน
บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะกราบทูลคุณวิเศษที่คนบรรลุแด่พระศาสดา
จึงได้พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคาถาสุดท้าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺโผฏิโต แปลว่า กำจัดแล้ว อธิบาย
ว่า สลัดออกด้วยมรรคญาณ.

1. ขุ. อ. 33/ข้อ 108.

บทว่า คณฺฑมูโล ได้แก่ อวิชชา. จริงอยู่ อวิชชานั้นย่อมไหล
คือซ่านไป ? ดูก่อนภิกษุ บทว่า คณฺโฑ แล เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์ 5
รวมความว่าเป็นมูล คือเป็นเหตุแห่งอุปาทานขันธ์ 5 ชื่อว่า คัณฑะ
หัวฝี เพราะประกอบด้วยมูลแห่งทุกข์ เพราะเป็นที่ไหลออกของสิ่งอันไม่
สะอาด คือกิเลส เพราะเกิดขึ้น แก่ แตกดับ และพองขึ้น สุก แตกไป.
บทว่า ตณฺหาชาโล สมูหโต ความว่า ข่ายกล่าวคือตัณหา อัน
ถอนได้แล้วด้วยมรรค.
บทว่า โส ขีณสํสาโร น จตฺถิ กิญฺจนํ คือความ ความว่า เรานั้นชื่อว่า
เป็นผู้สิ้นสงสารแล้ว เพราะเราละตัณหาและอวิชชาได้เเล้วอย่างนี้ เพราะ
เราละมูลแห่งภพได้แล้วนั่นแล กิเลสเครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น จึงไม่มี
และเกิดขึ้นไม่ได้.
บทว่า จนฺโท ยถา โทสินา ปุณฺณมาสิยํ ความว่า พระจันทร์
ปราศจากโทษมีเมฆและหมอกเป็นต้น ในเวลาพระจันทร์เต็มดวงในวัน
เพ็ญฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องกังวลมีราคะ
เป็นต้น เพราะบรรลุพระอรหัต ได้เป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมอันบริบูรณ์
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาธัมมิกเถรคาถาที่ 10

1. สัปปกเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระสัปปกเถระ



[333] เมื่อใด นกยางทั้งหลายมีขนอันขาวสะอาดถูกความ
กลัวต่อเมฆคุกคามแล้ว ปรารถนาจะหลบซ่อนอยู่ในรัง
บินเข้าไปสู่รัง เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี
เมื่อใด นกยางมีขนขาวสะอาดดี ถูกความกลัวต่อเมฆดำ
คุกคามแล้วไม่เห็นที่หลบลี้ จึงแสวงหาที่หลบลี้ เมื่อนั้น
แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี ต้นหว้าทั้งหลาย
ทั้งสองข้างแห่งแม่น้ำอชกรณี ทำฝั่งแม่น้ำข้างหลังแห่ง
ถ้ำใหญ่ของเราให้งาม จะไม่ยังสัตว์อะไรให้ยินดี ในหมู่นั้น
ได้เล่า กบทั้งหลายมีปัญญาน้อย พ้นดีแล้วจากหมู่แห่งงู
มีพิษและงูไม่มีพิษ พากันร้องด้วยเสียงอันไพเราะ วันนี้
เป็นสมัยที่อยู่ปราศจากภูเขาและน้ำก็หามิได้ แม่น้ำ
อชกรณีนี้เป็นแม่น้ำปลอดภัย เป็นแม่น้ำเกษมสำราญ
รื่นรมย์ดี.

จบสัปปกเถรคาถา

อรรถกาถาสัปปกเถรคาถาที่ 11



คาถาของท่านพระสัปปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา พลากา ดังนี้.
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร .
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ 31 แต่ภัทรกัปนี้ บังเกิดเป็นนาคมี